พิธีบรรพชาอุปสมบท

พิธีบรรพชาอุปสมบท

         การบรรพชาอุปสมบท จุดมุ่งหมายก็เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมขัดเกลากิเลสชำระจิตสันดานให้สะอาดบริสุทธิ์ ทำให้ผู้บวชเป็นผู้ประเสริฐ คือมีศีลธรรมอันประเสริฐ ทำลายความชั่วมิให้มีปรากฏในตัว สะอาดกาย สะอาดวาจา และสะอาดใจ ด้วยการบำเพ็ญความดี เว้นจากการเบียดเบียนตนและผู้อื่น นำพาชีวิตให้สงบร่มเย็น จุดหมายสูงสุดของการบวชคือพระนิพพาน

การเตรียมการ

          – ผู้ปกครองไปแจ้งความประสงค์กับทางวัด และนมัสการพระอุปัชฌาย์ ขอนำบุตรเข้ารับอุปสมบทที่วัด ตามวันเวลาที่ต้องการ

          – นำบุตรที่จะเข้าอุปสมบทไปมอบถวายพระอุปัชฌาย์ตามธรรมเนียมของวัด โดยจัดดอกไม้ธูปเทียนไปถวายท่านด้วย และไปซ้อมขานนาคตามที่ทางวัดกำหนด การเตรียมจัดงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่ความประสงค์ของเจ้าภาพ โดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสม

          – เครื่องอัฐบริขาร (สบง, จีวร, สังฆาฏิ, บาตร, มีดโกน, เข็ม, ประคดเอว, ผ้ากรองน้ำ(ธมกรก)

          – ไตรอาศัย ๑ ไตร พานธูปเทียนแพ ๒ ชุด (สำหรับบรรพชา)

          – ดอกไม้ธูปเทียนขอนิสัย ๑ ชุด (สำหรับอุปสมบท)

          – ไทยธรรมถวายพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด และพระอันดับ

          – ของใช้สำหรับพระใหม่ เครื่องใช้ส่วนตัวอื่น ๆ จะมีมากน้อยเพียงไรสุดแต่ความจำเป็นของแต่ละบุคคล เช่น เสื่อ ที่นอน (ไร้นุ่น) หมอน มุ้ง ผ้าห่มนอน ผ้าสบง และผ้าจีวร (เอาไว้ผลัดเปลี่ยน) รองเท้า (ไม่หุ้มส้น) ร่มกันแดดกันฝน ผ้าเช็ดตัว สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เป็นต้น

ไทยธรรม

          ไทยธรรมถวายพระอุปัชฌาย์

          – เครื่องสักการะ (ธูปเทียนแพและดอกไม้กระทง)

          – เครื่องสักการะขอนิสัยจากอุปัชฌาย์ (ธูปเทียนแพและดอกไม้กระทง)

          – ผ้าไตร (มีหรือไม่มีก็ได้)

          – ซองใส่ปัจจัยหรือซองใบปวารณา

          ไทยธรรมถวายพระคู่สวด

          – ผ้าไตร (มีหรือไม่มีก็ได้)

          – เครื่องสักการะ (ดอกไม้ธูปเทียน ๒ ชุด สำหรับขอศีลและถวายท่าน)

          – เครื่องไทยธรรม ๒ ชุด

          – ซองปัจจัยหรือซองใบปวารณา

          ไทยธรรมถวายพระอันดับ

          – เครื่องไทยธรรม

          – ดอกไม้ธูปเทียน

          – ซองปัจจัยหรือซองใบปวารณา

          (ทั้งหมดนี้จัดตามจำนวนพระอันดับ)

          เครื่องประกอบ

          – ผ้านุ่งนาค

          – พานแว่นฟ้าวางไตร

          – ตาลปัตร

          – ย่าม

          – ดอกไม้คลุมไตร

          – เหรียญบาทโปรยทาน (พอสมควร)

          – ดอกบัว ๓ ดอก พร้อมธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม (สำหรับนาค)

การปฏิบัติ (ตัวอย่างนี้เป็นการอุปสมบทนาคหมู่ของข้าราชการกองทัพบก)

          – พิธีโกนผมนาค

          – พิธีมอบผ้าไตรแก่นาค (บิดามารดาเป็นผู้มอบ)

          – พิธีแห่นาครอบอุโบสถ นำนาคเวียนประทักษิณอุโบสถหรือพระอุโบสถ ๓ รอบ โดยจัดลำดับขบวน ดังนี้

          – ลำดับ ๑ บิดานาคสะพายบาตรถือตาลปัตรเดินนำหน้า

          – ลำดับ ๒ มารดาหรือญาติผู้เกี่ยวข้องอุ้มผ้าไตร

          – ลำดับ ๓ นาคพนมมือถือดอกบัว ๓ ดอก เดินตาม

          – ลำดับ ๔ ผู้ถือของอื่น ๆ ตามกันไป

          – พิธีวันทาเสมา ประทักษิณครบ ๓ รอบแล้ว นาคนั่งคุกเข่าวันทาเสมา พนมมือถือดอกบัว ว่าดังนี้

          “ อิมินา สักกาเรนะ พัทธสีมายัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง อะภิปูเชมิ” ก็ได้ หรือจะว่าคำอื่นใดที่ทางวัดนั้น ๆ ใช้อยู่ก็ใช้ได้

          – โปรยทาน (ถ้ามี) เสร็จแล้วนำนาคเข้าอุโบสถ โดยบิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่จูงมือเข้าไป

          – นาคนำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปกราบพระในอุโบสถ

          – นาคคุกเข่ากราบบิดามารดา หรือผู้จัดการในการอุปสมบทให้ รับผ้าไตรแล้วเดินเข่าเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์เข้าหาพระอุปัชฌาย์

          (ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของสงฆ์ที่จะประกอบกรรมวิธีในการอุปสมบทจนเสร็จพิธี)

หมายเหตุ ก่อนวันอุปสมบท นาคต้องจัดพานธูปเทียนแพ หรือดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาลาบวชกับผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ โดยกราบมือตั้ง ๑ ครั้ง แล้วประคองพานธูปเทียนแพ กล่าวว่า

          “ ยัง กาเยนะ กะตัง กัมมัง, วาจายะ อุทะ เจตะสา, โมเหนะ วา ปะมาเทนะ วา, สัมมุขา จะ ปะรัมมุขา จะ ตะเมวะ อะโหสิกัมมัง, พรัหมะจะริยัสสะ วิสุทธิยา

          กรรมใดที่กระผมได้ประพฤติล่วงเกินท่าน ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ด้วยเจตนาก็ดี หาเจตนามิได้ก็ดี ด้วยความประมาทพลั้งเผลอ ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมนั้นแก่กระผมด้วย เพื่อความบริสุทธิ์ ในการประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป”

          กล่าวจบแล้ว เปิดกรวยกระทงดอกไม้ น้อมตัวลงเล็กน้อย มอบพานธูปเทียนแพแก่ท่าน เมื่อผู้ใหญ่รับแล้ว ท่านอาจตอบสั้น ๆ ว่า

          “ ข้าพเจ้า (ฉัน) ขออโหสิกรรมให้ อนึ่ง กรรมใดที่ข้าพเจ้า (ฉัน) ได้ล่วงเกินเธอด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ขอเธอได้อโหสิกรรมนั้นแก่ข้าพเจ้า (ฉัน) ด้วย” ดังนี้ก็ได้

          ขณะที่ท่านกล่าวอยู่นี้ ผู้บวชจะต้องอยู่ในท่าประนมมือฟังท่าน เมื่อท่านกล่าวจบ ถ้ายืนอยู่ให้ไหว้ท่าน ๑ ครั้ง ถ้านั่งอยู่ก็กราบท่านอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นท่านจะมอบพานเครื่องขอขมาคืนให้

พิธีอุปสมบท โดยมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้

          – ประธานฯ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง (ถ้าสถานที่ไม่อำนวย ประธานสงฆ์เป็นผู้จุด)

          – อศจ. อาราธนาศีล – รับศีล

          – ประธานฯ ทำพิธีมอบผ้าไตรแก่นาคประมาณไม่เกิน ๕ คน พอเป็นพิธี

          – ประธานฯ ประเคนเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรแก่พระอุปัชฌาย์

          – น.ผู้ใหญ่  ประเคนเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรแก่พระคู่สวด

          – พระสงฆ์อนุโมทนา

          – ประธานฯ กรวดน้ำ

          (เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว ประธานฯ จะอยู่ร่วมพิธีต่อไปหรือจะกลับก็ได้)

          – พระสงฆ์ดำเนินพิธีอุปสมบทกรรมต่อไปจนเสร็จ

การปฏิบัติ (พิธีอุปสมบททั่ว ๆ ไป)

          – โกนผมนาค

          – แห่นาครอบอุโบสถ

          – วันทาเสมา

          – นาคเข้าสู่อุโบสถ

          – นาคนั่งคุกเข่า กราบพระ ๓ ครั้ง

          – ได้เวลาอันสมควร นาครับผ้าไตรจากบิดามารดา (หันหน้าไปทางบิดามารดา คุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง แล้วยื่นมือไปรับผ้าไตรจากบิดามารดา)

          – นาคอุ้มผ้าไตร ถือเครื่องสักการะเดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์

          – พระอุปัชฌาย์ดำเนินกรรมวิธีของท่านเสร็จแล้ว

          – นาคออกไปด้านหลังอุโบสถหรือพระอุโบสถ เปลี่ยนเสื้อผ้า นุ่งห่มสบงจีวร

          – บิดามารดามอบตาลปัตรแก่นาค

          – นาคประเคนตาลปัตรและเครื่องสักการะแก่พระคู่สวดเพื่อขอศีล

          – บิดามารดาประเคนบาตรแก่สามเณร สามเณรอุ้มประคองบาตรเดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์

          – พระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดดำเนินพิธีอุปสมบทกรรมจนเสร็จ

          – ประเคนเครื่องไทยธรรมแก่พระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด และพระอันดับ

          – พระสงค์อนุโมทนา

          – พระใหม่และเจ้าภาพกรวดน้ำ – รับพร

          – เสร็จพิธี

คำขอบรรพชาอุปสมบท แบบอุกาสะ

          กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งบรรพชา อุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้าไปในสังฆสันนิบาต วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชา (หยุดตามเครื่องหมายจุลภาค) ว่า

          อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ

          อุกาสะ การุญญัง  กัตวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต, (นั่งลงคุกเข่าประนมมือ)

          อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,

          ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,

          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,

          สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อนุกัมปัง อุปาทายะฯ (ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ มา ว่า ๓ หน พระอุปัชฌาย์รับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)

          สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง กาสาวัง ทัตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อนุกัมปัง อุปาทายะฯ (ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ มา ว่า ๓ หน)

          ในลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้

          เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ          (อนุโลม)

          ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา          (ปฏิโลม)

          พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรสวมให้ แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยธรรมเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้ว กราบลง ๓ หน ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีล ดังนี้

          อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะรังธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อานุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ อุกาสะ การุญญัง กัตวา ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ เม ภันเต, (นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีล ดังต่อไปนี้)

          อะหัง ภันเต,  สะระณะสีลัง ยาจามิ,

          ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,

          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ

          ลำดับนั้นพระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชาว่าตามไป ดังนี้

          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ หน)

          แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ พึงรับว่า อะมะ ภันเต ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาสรณคมน์ พึงว่าตามไปทีละพากย์ ดังนี้

          พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

          ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

          สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

          ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

          ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

          ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

          ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

          ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

          เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่า อามะ ภันเต ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ต่อแต่นั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการ ว่าตามท่านไป ดังนี้

          ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ        

          สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 

          วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิฯ ข้อ อิมานิ นี้ว่า ๓ จบ แล้วกราบ ลง ๑ หน ยืนขึ้นว่า

          วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ (คุกเข่ากราบ ๓ หน)

          ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยธรรมถวายท่านแล้วกราบลง ๓ หน ยืนประนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้

          อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมนามิฯ

          อุกาสะ การุญญัง กัตวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต, (นั่งคุกเขา)

          อะหัง ภันเต,  สะระณะสีลัง ยาจามิ,

          ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,

          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,       

          อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิฯ วรรคนี้ว่า ๓ หน เมื่อพระอุปัชฌาย์ว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ, แล้วสามเณรพึงกล่าวรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิฯ ในระหว่าง ๆ  ๓ หน แล้วว่าต่อ

          วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ (คุกเข่ากราบ ๓ หน)

          ตั้งแต่ อุปัชฌาโย ฯลฯ เถรัสสะ ภาโร ๓ วรรค นี้ พระอุปัชฌาย์บางองค์ให้ว่ารวดเดียวตามแบบนั้นก็มี ให้ว่าเป็นตอน ๆ ดังนี้คือ เมื่อสามเณรว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ๓ หน แล้วพระอุปัชฌาย์กล่าวรับว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ สัมมปาเทหิ, บทใดบทหนึ่งพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ทุกบทไปแล้วสามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่า อัชชะตัคเคทานิ ฯลฯ ภาโร ๓ หนฯ ก็มี ลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์เอาบาตรมีสายโยกคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบทแล้วบอกบาตรและจีวรผู้มุ่งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภันเต ๔ หน ดังนี้

          ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ อุปัชฌัง คาหาเปตวา ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพัง

          คำบอกบาตรจีวร                          คำรับ

          ๑. อะยันเต ปัตโต                        อามะ ภันเต

          ๒. อะยัง สังฆาฏิ                          อามะ ภันเต

          ๓. อะยัง อุตตะราสังโค                  อามะ ภันเต

          ๔. อะยัง อันตะระวาสะโก               อามะ ภันเต

          ต่อจากนั้น พระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ พระอาจารย์ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ดังนี้

          ถาม                                        ตอบ

          ๑. กุฏฐัง                                   นัตถิ ภันเต

          ๒. คัณโฑ                                  นัตถิ ภันเต

          ๓. กิลาโส                                  นัตถิ ภันเต

          ๔. โสโส                                     นัตถิ ภันเต

          ๕. อะปะมาโร                             นัตถิ ภันเต

          ๑. มะนุสโสสิ๊                               อามะ ภันเต

          ๒. ปุริโสสิ๊                                  อามะ ภันเต

          ๓. ภุชิสโสสิ๊                                อามะ ภันเต

          ๔. อะนะโณสิ๊                              อามะ ภันเต

          ๕. นะสิ๊ ราชะภะโฏ                       อามะ ภันเต

          ๖. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ             อามะ ภันเต

          ๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊              อามะ ภันเต

          ๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง         อามะ ภันเต

          ๑. กินนาโมสิ                               อะหัง ภันเต……………………..นามะ

          ๒. โก นามะ เต อุปัชฌาโย               อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสมา………………………….นามะ

          ช่อง………….ไว้ พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของอุปสัมปทาเปกขะกรอกลงช่องให้ไว้ก่อนวันบวช

          และช่องที่…………ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌาย์ก็เช่นเดียวกัน ให้กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช

          ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะ เข้ามา อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌายะ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท ว่าดังนี้

          สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

          ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

          ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

          ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว พระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม อุปสัมปทาเปกขะ พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน บอกชื่อตนและชื่อพระอุปัชฌายะรวม ๒ หน เหมือนที่กล่าวแล้วในหนหลังฯ แต่นั้นพึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัวแล้วพึงกราบ ๓ หน   แต่นั้นพึงนั่งพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌาย์ ๓ หน ถ้ามีไทยธรรมถวายก็ให้รับไทยธรรมถวายพระอันดับ เสร็จแล้วคอยฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไป เมื่อพระอนุโมทนา พึงกรวดน้ำ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลส่วนนี้ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณ เมื่อพระว่า ยะถา จบ ก็เทน้ำกรวดลงให้หมด ต่อนั้นประนมมือฟังอนุโมทนาไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

จบพิธีอุปสมบท แบบอุกาสะ

คำขอบรรพชาอุปสมบท แบบเอสาหัง

          กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งอุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้าไปในสังฆสันนิบาต วางผ้าไตรข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌายะ แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วนั่งคุกเข่าอุ้มผ้าไตรประณมเปล่งวาจา ถึงสรณะและขอบรรพชาด้วยคำมคธ หยุดตามจุดจุลภาค ว่า

          เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

          ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

          ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

          อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทะยะ

          ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทะยะ

          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต,  อะนุกัมปัง อุปาทะยะ

          ถ้าบวชเป็นสามเณร ยกคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออกเสีย

          ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะรับเอาผ้าไตรจากผู้มุ่งบรรพชาวางไว้ตรงหน้าตักแล้วกล่าวสอนถึงพระรัตนตรัย เป็นต้น และบอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้

          เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ          (อนุโลม)

          ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสาฯ         (ปฏิโลม)

          ครั้นสอนแล้ว พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตร สวมให้แล้วสั่งให้ออกไปครองไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่า ประนมมือเปล่งวาจา ขอสรณะและศีล ดังนี้

          อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,

          ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,

          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ

          ลำดับนั้นพระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชาว่าตามไป ดังนี้

          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ หน)

          แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ พึงรับว่า อะมะ ภันเต ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาสรณคมน์ตามไปทีละพากย์ ดังนี้

          พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

          ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

          สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

          ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

          ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

          ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

          ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

          ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

          เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่า อามะ ภันเต ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่าการบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ทีนั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการ ว่าตามท่านไป ดังนี้

          ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ        

          สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 

          วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

          อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิฯ ว่า ๓ หน

          ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตร อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้

          อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,

          ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,

          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,

          อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ว่า ๓ หน

          พระอุปัชฌายะกล่าวว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ บทใดบทหนึ่ง พึงรับว่า สาธุ ภันเต ทุกบทไป แต่นั้นสามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่าน ว่าดังนี้

          อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร ว่า ๓ หน เสร็จแล้วกราบลง ๓ หน

          ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะแนะนำสามเณรไปตามระเบียบแล้ว พระอาจารย์ผู้เป็นกรรมวาจา เอาบาตรมีสายคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบท บอกบาตรและจีวร ผู้มุ่งอุปสมบท พึงรับว่า อามะ ภันเต ๔ หน ดังนี้

          คำบอกบาตรจีวร                   คำรับ

          ๑. อะยันเต ปัตโต                 อามะ ภันเต

          ๒. อะยัง สังฆาฏิ                  อามะ ภันเต

          ๓. อะยัง อุตตะราสังโค           อามะ ภันเต

          ๔. อะยัง อันตะระวาสะโก       อามะ ภันเต

          ต่อจากนั้น พระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ พระอาจารย์ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม   พึงรับว่า

นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ดังนี้

          ถาม                                 ตอบ

          ๑. กุฏฐัง                            นัตถิ ภันเต

          ๒. คัณโฑ                           นัตถิ ภันเต

          ๓. กิลาโส                          นัตถิ ภันเต

          ๔. โสโส                             นัตถิ ภันเต

          ๕. อะปะมาโร                      นัตถิ ภันเต

          ๑. มะนุสโสสิ๊                       อามะ ภันเต

          ๒. ปุริโสสิ๊                          อามะ ภันเต

          ๓. ภุชิสโสสิ๊                         อามะ ภันเต

          ๔. อะนะโณสิ๊                      อามะ ภันเต

          ๕. นะสิ๊ ราชะภะโฏ               อามะ ภันเต

          ๖. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ     อามะ ภันเต

          ๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊      อามะ ภันเต

          ๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต

          ๑. กินนาโมสิ                       อะหัง ภันเต……………………..นามะ

          ๒. โก นามะ เต อุปัชฌาโย       อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสมา………………………….นามะ

          ถ้าตอบพร้อมกันให้เปลี่ยน เม เป็น โน

          ช่อง………………ไว้ พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของอุปสัมปทาเปกขะกรอกลงช่องให้ไว้ก่อนวันบวช และช่องที่…………ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌาย์ก็เช่นเดียวกัน ให้กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านจะบอก และกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช

          ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะ เข้ามา อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌายะ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท ว่าดังนี้

          สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

          ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุมัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

          ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุมัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

          ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว พระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม อุปสัมปทาเปกขะ พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน บอกชื่อตนและชื่อพระอุปัชฌายะรวม ๒ หน โดยนัยหนหลัง แต่นั้นพึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัวแล้วพึงกราบ ๓ หน นั่งพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วรับว่า อามะ ภันเต แล้วกราบ ๓ หน ถวายไทยธรรม กรวดน้ำ เหมือนกล่าวแล้วในแบบอุกาสะ

จบพิธีอุปสมบท แบบเอสาหัง

คำขอบรรพชาอุปสมบทนาคคู่ (แบบใหม่)

          (จะกล่าวแต่เฉพาะที่แปลก ส่วนที่ไม่แปลกและคำอธิบายวิธีต่าง ๆ ซึ่งเหมือนกันกับ ๒ วิธีที่กล่าวมาแล้ว จะไม่กล่าวอีก ขอให้พลิกกลับไปศึกษาใน ๒ วิธีนั้น แม้คำขออุปสมบทพร้อมกัน (สังฆัมภันเต) ก็ได้อธิบายไว้แล้วท้ายคำขออุปสมบท แบบเอสาหัง)

          เอเต มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยามะ มะยัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยามะ อุปะสัมปะทัง,

          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยามะ มะยัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยามะ อุปะสัมปะทัง, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยามะ มะยัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยามะ อุปะสัมปะทัง, มะยัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามะ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ โน ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทะยะ

          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามะ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ  โน ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทะยะ

          ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามะ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ  โน ภันเต, อะนุกัมปัง  อุปาทายะ

คำขอนิสสัยนาคคู่

          มะยัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามะ,

          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามะ,

          ตะติยัมปิ   มะยัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามะ,

          อุปัชฌาโย โน ภันเต โหหิ ( ๓ หน )

          อัชชะตัคเคทานิ เถโร, อัมหากัง ภาโร, มะยังปิ เถรัสสะ ภารา (๓ หน)

คำขออุปสมบทพร้อมกัน

          สังฆัม ภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามะ, อุลลุมปะตุ โน ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

          ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามะ, อุลลุมปะตุ โน ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

          ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามะ, อุลลุมปะตุ โน ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

พิธีขอขมาก่อนอุปสมบท

การเตรียมการ

          – โต๊ะหมู่บูชาพร้อมเครื่องสักการะ

          – พานธูปเทียนแพ พร้อมกระทงดอกไม้สดมีกรวยครอบ

          – ปูพรมหรือเสื่อที่พื้นห้อง

          – จัดเก้าอี้แขกและเก้าอี้สำหรับผู้เข้าร่วมพิธีตามสมควร

การปฏิบัติ

          ก่อนถึงกำหนดเวลาเล็กน้อย ผู้เข้าร่วมพิธีพร้อม ผู้เข้าขอขมานั่งพับเพียบ

          ประธานในพิธี  

                – มาถึงบริเวณพิธี

          ผู้รับผิดชอบ      

                -บอกทำความเคารพ

          ประธานฯ         

                – จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบพระ ๓ ครั้ง (ผู้เข้าร่วมพิธียืนขึ้นประนมมือ)

                – นั่งที่เก้าอี้รับรอง (ผู้เข้าร่วมพิธีนั่งลง)

          ผู้เข้าขอขมา      

                – นั่งพับเพียบ หัวหน้าผู้เข้าขอขมานำกราบ (ตั้งมือ) ๑ ครั้ง

          หัวหน้าผู้ขอขมา

                – นำนั่งคุกเข่า เปิดกรวยครอบกระทงดอกไม้สดออกแล้วยกพานธูปเทียนแพสองมือเสมออก กล่าวนำ คำขอขมา ในนามผู้ขอขมาทั้งหมดว่า “กราบเรียนผู้บังคับบัญชา ทุกท่าน เนื่องในโอกาสที่พวกกระผมจะเข้าบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาครั้งนี้ กรรมใดที่พวกกระผมได้เคยล่วงเกินต่อท่าน ด้วยกาย วาจา และใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เพื่อความบริสุทธิ์แห่งเพศพรหมจรรย์ ขอได้โปรดให้อโหสิกรรมนั้นแก่พวกกระผมด้วยเทอญ” จบแล้ว

          หัวหน้าผู้ขอขมา

                – เดินเข่า ถือพานธูปเทียนแพเข้าไปตรงหน้าประธาน มอบพานธูปเทียนแพให้ประธาน แล้วถอยกลับมาที่เดิม นั่งพับเพียบฟังโอวาท

          ประธานฯ         

                – รับพานธูปเทียนแพวางไว้บนโต๊ะแล้ว กล่าวว่า “ข้าพเจ้าพร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาทุกท่านมีความยินดี และขออนุโมทนาอย่างยิ่งกับพวกท่านที่มีโอกาสได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาครั้งนี้ กรรมใดหากเคยล่วงเกินต่อกันในกาลที่ผ่านมา ก็ขออโหสิทุกประการ”

          ประธานฯ         

                – ให้โอวาทจบ มอบของที่ระลึก (ถ้ามี)

          หัวหน้าผู้ขอขมา

                – นำกราบตั้งมือ ๑ ครั้ง

          ประธานฯ         

                – ไปกราบพระ ๓ ครั้ง

          ผู้เข้าร่วมพิธี      

                – ประนมมือและลดมือลงเมื่อประธานกราบพระเสร็จ

          ผู้รับผิดชอบ      

                – บอกทำความเคารพประธานฯ

                – เสร็จพิธี

พิธีวันทาเสมา

การเตรียมการ

          – ดอกบัว ๓ ดอก

          – ธูปเทียน (ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม)

          – เสื่อ ๑ ผืน

การปฏิบัติ

          – เมื่อนาคเดินเวียนรอบอุโบสถครบ ๓ รอบแล้ว มานั่งคุกเข่าที่เสื่อ ตรงเสมาหน้าอุโบสถ หันหน้าเข้าหาอุโบสถ

          – กราบ ๓ ครั้ง ถือเครื่องสักการะ (ดอกบัว, ธูปเทียน) กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยว่า “อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ, อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ, อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ”

          – วางดอกบัว ธูปเทียนบนที่รองรับ แล้วกราบ ๓ ครั้ง

          – ลุกขึ้นยืน ประนมมือ กล่าวดังนี้

          “อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ  อะนุโมทามิ”

          – นั่งคุกเข่า ประนมมือ ว่าดังนี้

          “อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต”

          – กราบ ๓ ครั้ง

          – ลุกขึ้นยืน พนมมือ ว่าดังนี้

          “วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ”

          – กราบ ๓ ครั้ง (เสร็จพิธีวันทาเสมา)

          – เดินขึ้นไปยืนที่หน้าอุโบสถหรือพระอุโบสถ หันหน้าออกแล้วโปรยทาน (ถ้ามี)

หมายเหตุ การวันทาเสมาที่กล่าวนี้เป็นแบบพิสดาร ท่านจะย่อเอาเฉพาะข้อแรกเท่านั้นก็ได้

พิธีเทศน์สอนนาค

การเตรียมการ

          – โต๊ะหมู่บูชา (หมู่ ๕ หรือ หมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙)

          – เครื่องไทยธรรมถวายพระเทศน์

          – ธรรมาสน์ (ที่นั่งสำหรับพระเทศน์)

          – เทียนบูชาธรรม (จุดดูหนังสือเทศน์แบบธรรมเนียมโบราณ)

การปฏิบัติ

          – ก่อนถึงกำหนดเวลา นาคและผู้เข้าร่วมพิธีพร้อม

          – นาคนั่งพับเพียบตรงด้านหน้า

          ประธานในพิธี  

                – ถึงบริเวณพิธี

                – จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง

          อศจ.              

                – อาราธนาศีล – รับศีล

          ประธานฯ         

                – จุดเทียนบูชาพระธรรมแล้วน้อมไหว้

          อศจ.              

                – อาราธนาธรรม

          พระสงฆ์          

                – แสดงธรรม (เมื่อพระสงฆ์แสดงธรรมจบแล้วอนุโมทนา)

          ประธานฯ         

                – กรวดน้ำ – รับพร

                – ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมกัณฑ์เทศน์

                – กราบ ๓ ครั้ง

                – เสร็จพิธี