พิธีหล่อพระ (เต็มรูปแบบ)

พิธีหล่อพระ (เต็มรูปแบบ)

การเตรียมการ

          – ราชวัติฉัตรธง

          – ต้นกล้วย ต้นอ้อย

          – ด้ายสายสิญจน์ สำหรับวงบริเวณพิธีและโยงไปที่พระสงฆ์

          – พิธีมณฑลตั้งห่างไปจากบริเวณเผาหุ่นเททอง

          – โลหะต่าง ๆ ที่จะหล่อพระ

          – ไทยธรรม

          – เครื่องใช้สำหรับพิธีสงฆ์

          – ธูปเทียนตามจำนวนที่กำหนด

การปฏิบัติ   (ก่อนถึงเวลาฤกษ์เททองประมาณ ๒ ชั่วโมง)

          เจ้าภาพ    – จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยในปะรำพิธี

          พิธีกร       – อาราธนาศีล

          เจ้าภาพ     – จุดธูปเทียนบูชาเทวดานพเคราะห์

          พิธีกร  

                        – กล่าวชุมนุมเทวดา (สัคเค กาเมฯลฯ)

                        – อาราธนาพระปริตร

          พระสงฆ์   – เจริญพระพุทธมนต์

          เจ้าภาพ     – จุดเทียนชัยและเทียนมงคล (เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบบทสรณคมน์)

          พระสงฆ์   – เจริญพระพุทธมนต์สลับไปกับโหรบูชานพเคราะห์ (ขณะพระสงฆ์สวดพระปริตรประจำนพเคราะห์)

          เจ้าภาพ     – จุดธูปเทียนเท่ากำลังพระเคราะห์นั้น ๆ (เมื่อใกล้จะถึงเวลาเททอง)

          เจ้าภาพ    

                        – จุดเทียน ๔๐ เล่ม ธูป ๔๐ ดอก ที่โต๊ะหน้าเตาหุ่น อธิษฐานให้พระที่จะหล่อนั้นสวยงาม และทรงมหิธานุภาพ ขจัดทุกข์ภัยอำนวยความสุขทุกอย่าง (เมื่อถึงเวลาฤกษ์)

                        – เข้าประจำที่ ถือสายสิญจน์ซึ่งปลายอีกข้างหนึ่งผูกอยู่กับด้ามคีมที่ช่างจะใช้จับเบ้าเททอง พนมมืออธิษฐาน หันหน้าสู่ทิศมงคล โดยมีญาติและผู้ร่วมพิธีพนมมือถือด้วยสายสิญจน์

          พระสงฆ์   – เจริญชัยมงคลคาถา, โส อัตถะลัทโธ, สักกัตวา, นัตถิ เม, ยังกิญจิ, ภวะวะตุ สัพ…(เมื่อเททองเสร็จแล้ว

          เจ้าภาพ

                        – กลับสู่ปะรำพิธี ประเคนไทยธรรม กรวดน้ำ – รับพร (เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา)

                        – เสร็จพิธี

หมายเหตุ   

          ๑. การจัดงานอาจเป็น ๒ วันก็ได้ โดยวันแรกมีการเจริญพระพุทธมนต์ประจำนพเคราะห์ให้เสร็จสิ้นไปตอนหนึ่งก่อน (มักจัดให้มีสวดพุทธาภิเษกและนั่งปรกด้วย) วันที่สองเป็นวันเททอง

          ๒. เมื่อหล่อพระแล้ว ถ้าเป็นพระประจำวัน เจ้าภาพมักจัดพิธีบรรจุเพิ่มขึ้นอีกการบรรจุมีรายละเอียด ดังนี้

การเตรียมการ

          – โต๊ะหมู่บูชา (หมู่ ๕, ๗ หรือหมู่ ๙) พร้อมด้วยเครื่องสักการะ

          – แจกันดอกไม้ ๒ คู่

          – เทียนทอง-เทียนเงิน อย่างละ ๑ เล่ม (หนักเล่มละ ๖ บาท)

          – ธูป ๕ ดอก

          – ข้าวตอก ๕ กระทง

          – ดอกไม้ ๕ กระทง (แต่ละกระทงมีดอกไม้ ๙ สี)

          – น้ำมันหอม ชาดหรคุณ แป้งเจิม

          – เทียนขี้ผึ้ง ๗ เล่ม (หนักเล่มละ ๖ สลึง ไส้ ๙ เส้น)

          – ธูปดอกเล็ก ๆ (ธูปจีน) ๘ ดอก

          – แผ่นเงิน หรือแผ่นทองหนัก ๑ บาท ๑ แผ่น ตัดเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว

          – เหล็กวงจร

          – ไทยธรรม

          – ที่กรวดน้ำ

การปฏิบัติ (เมื่อถึงเวลาฤกษ์)

          เจ้าภาพ         – จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย โดยจุดเทียนทอง – เงินที่หน้าพระ จุดเทียน ๖ สลึง ๕ เล่ม ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และระลึกถึงคุณบิดามารดา รวมทั้งผู้มีพระคุณ

          ประธานสงฆ์

                            – ใช้เหล็กจารเขียนดวงชะตาเจ้าภาพลงในแผ่นโลหะพร้อมทั้งวันเดือนปีเกิดชื่อ – นามสกุลบิดามารดา เสร็จแล้วทาด้วยน้ำมันหอม ชาดหรคุณ แล้วเจิมดวงชะตา

                            – ใช้เหล็กจารลงยันต์ใต้ฐานพระ

          พระสงฆ์       – เจริญชัยมงคลคาถา

          ประธานสงฆ์

                            – นำดวงชะตาบรรจุเข้าใต้ฐานพระ ปิดด้วยแผ่นโลหะขันนอต

                            – เจิมฐานพระด้านหน้า และเจิมที่ฝาปิด

          เจ้าภาพ        – ประเคนไทยธรรม

          พระสงฆ์       – อนุโมทนา

          เจ้าภาพ

                            – กรวดน้ำ – รับพร

                            – เสร็จพิธี