ความมุ่งหมาย
การหล่อพระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอนุสาวรีย์สำหรับกราบไหว้สักการบูชา ยึดเหนี่ยวจิตใจและรำลึกถึงคุณความดี อีกทั้งเป็นการประกาศพุทธานุภาพให้ปรากฏแก่สาธุชนทั่วไป การประกอบพิธีจึงสมควร กระทำให้ถูกต้องเหมาะสมตามขั้นตอน เพื่อก่อให้เกิดศรัทธาประสาทะของพุทธศาสนิกชนอย่างมั่นคง
พิธีแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน
– พิธีบูชาฤกษ์ บวงสรวงสังเวยเทวดา
– พิธีเจริญพระพุทธมนต์
– พิธีเททอง
การเตรียมการ
– จัดโต๊ะเครื่องสังเวยไว้นอกเต็นท์พิธีในที่อันเหมาะสม
– จัดที่จุดธูปเทียนบูชาฤกษ์ไว้ที่โต๊ะเครื่องสังเวย
– จัดโต๊ะหมู่บูชาพร้อมเครื่องสักการะ (เหมือนพิธีทำบุญทั่วไป)
– จัดเตรียมอาสนะ บาตรน้ำมนต์ กำหญ้าคาสลัดน้ำมนต์ พานสายสิญจน์ ตาลปัตร กระโถน พร้อมเครื่องใช้พิธีสงฆ์
– เครื่องไทยธรรม ภัตตาหารปิ่นโต หรือภัตตาหารถวายเพล
– ราชวัติฉัตรธง
– ต้นกล้วย ต้นอ้อย
– สายสิญจน์โยงรอบมณฑลพิธี และโยงจากพระพุทธรูปเข้าหาพระสงฆ์
– โลหะต่าง ๆ เช่น เงิน ทอง นาก สำหรับเทหล่อพระ ธูป เทียน ดอกไม้สด
– เตา อุปกรณ์หล่อพระ (ช่างหล่อจัดเตรียม)
การปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ ๑ พิธีบูชาฤกษ์ สังเวยเทวดา
– ประธานจุดธูปเทียนบูชาฤกษ์หน้าโต๊ะเครื่องสังเวย
– ประธานและผู้ร่วมพิธี จุดธูปปักที่เครื่องสังเวย
– พราหมณ์บูชาฤกษ์ และอ่านโองการ (บวงสรวงสังเวย)
ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเจิรญพระพุทธมนต์
– ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
– สมาทานศีล
– พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
– ประธานจุดเทียนน้ำมนต์ (เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบท “อเสวนา…….”)
– พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตามลำดับจนจบ
ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเททองหล่อพระ
– ประธานและผู้ร่วมพิธีออกจากเต็นท์พิธีสงฆ์ ไปมณฑลพิธีเททอง
– ประธานจุดเครื่องบูชาที่โต๊ะบูชาสี่ทิศ อธิษฐานขออานุภาพบุญกุศล และอำนาจเทวดาบันดาลให้การหล่อพระสำเร็จเรียบร้อยงดงามสวัสดี
– ประธานยืนบนแท่น หย่อนแผ่นทอง เงิน นาก และชิ้นทอง – เงิน ลงบนช้อนคันยาวที่ช่างหล่อยื่นให้ แล้วถือด้ายสายสิญจน์ที่โยงมาเทลงเบ้าหล่อพระ โดยมีผู้ร่วมพิธีถือด้ายสายสิญจน์ด้วย (ขณะที่เททองพระสงฆ์เจริญพระชัยมงคลคาถา)
– พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่หุ่นพระ ช่าง ประธาน และผู้ร่วมพิธี
– ประธานและผู้ร่วมพิธีกลับเข้าเต็นท์พิธีสงฆ์
– ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม และปิ่นโตภัตตาหาร (ถ้าไม่มีการถวายภัตตาหารเพล)
– พระสงฆ์อนุโมทนา
– ประธานกรวดน้ำ – รับพร
– เสร็จพิธี