เริ่มแรกอุบัติของอนุศาสนาจารย์ทหารอากาศ
เมื่อกองทัพอากาศยังมีฐานะเป็นกรมอากาศยาน ยังมิได้มีอนุศาสนาจารย์บรรจุเข้ารับราชการประจำตำแหน่ง ได้ขอไปยังแผนกอนุศาสนาจารย์ กรมตำราทหารบก ให้ย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปฏิบัติหน้าที่อนุศาสนาจารย์ที่กรมอากาศยานคราวละ ๑ นายบ้าง ๒ นายบ้าง เมื่ออยู่ได้ประจำครบ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ก็มีการสับเปลี่ยนกันครั้งหนึ่ง เป็นเช่นนี้เรื่อยมา
อนุศาสนาจารย์กรมอากาศยาน
๑. อนุศาสนาจารย์ ทบ. คนแรกที่ย้ายมาอยู่ประจำที่กรมอากาศยาน คือ รองอำมาตย์ตรี กถิน อัตถโยธิน ย้ายตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๗๖/๗๕๒๑ ลงวันที่ ๒๗ มิ.ย. ๒๔๖๖ ท่านรับราชการอยู่ที่กรมอากาศยานครบ ๒ ปี แล้วย้ายกลับไปอยู่แผนกอนุศาสนาจารย์ กรมตำราทหารบก ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑๓๖/๑๗๘๗๕ ลงวันที่ ๒๑ พ.ย. ๒๔๖๘ ขณะที่ท่านย้ายกลับนี้ ท่านได้เลื่อนยศเป็น รองอำมาตย์โท แล้ว
๒. อนุศาสนาจารย์ที่ย้ายมาประจำกรมอากาศยานคนต่อไปคือ รองอำมาตย์ตรี ดรุน สุทธาชีพ ย้ายตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๓๖/๑๗๘๗๕ ลงวันที่ ๒๑ พ.ย. ๒๔๖๘
๓. และในปลายปี ๖๘ นั้น ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์ตรี กมล มโนชญากร ให้มารับราชการประจำกรมอากาศยาน ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๒๑๑/๒๖๘๕๐ ลงวันที่ ๒๓ มี.ค. ๒๔๖๘ (ในปีนี้กรมอากาศยานมี อศจ. ๒ นาย)
๔. ต้นปี ๖๙ ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์ตรี ดรุณ สุทธาชีพ จากกรมอากาศยาน ให้ไปเป็นอนุศาสนาจารย์ ประจำกองบินใหญ่ที่ ๑ โคกกระเทียม ตามคำสั่งของกรมอากาศยาน (คอ.) ที่ ๑๓/๔๕๘ ลงวันที่ ๒๙ เม.ย. ๖๙ (ปี ๖๙ นี้แผนกอนุศาสนาจารย์ทหารบก ย้ายสังกัดจากกรมตำราทหารบก ไปขึ้นกรมยุทธศึกษาทหารบก มีชื่อย่อเรียกว่า ยศ. ๔)
๕. ต้นปี ๗๐ ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์ตรี กมล มโนชญากร ไปรับราชการที่มณฑลพายัพ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑๐๔/๘๔๕๖ ลงวันที่ ๓๐ ก.ค. ๗๐ จึงย้ายรองอำมาตย์โท เวียร พูลสวัสดิ์ มารับราชการในกรมอากาศยานแทน ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๑๔/๑๐๑๖๑ ลงวันที่ ๒๓ ส.ค. ๗๐
๖. ต้นปี ๗๑ ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์ตรี โปร่ง พีรคัม จากกรมยุทธศึกษาทหารบกมาเป็นอนุศาสนาจารย์กรมอากาศยาน และในคำสั่งอันเดียวกันนี้ให้ย้าย รองอำมาตย์โท ดรุณ สุทธาชีพ จากกองบินใหญ่ที่ ๑ โคกกระเทียม กลับไปอยู่แผนกอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๔๗/๒๒๕๔ ลงวันที่ ๙ พ.ค. ๗๑ เมื่อ รองอำมาตย์ตรี โปร่ง พีรคัม ได้ศึกษางานกับ รองอำมาตย์โท เวียร พูลสวัสดิ์ ที่กรมอากาศยานดีแล้ว จึงมีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์โท เวียร พูลสวัสดิ์ จากกรมอากาศยาน ให้ไปอยู่ประจำกองบินใหญ่ที่ ๑ โคกกระเทียม แทน รองอำมาตย์โท ดรุณสุทธาชีพ ตามคำสั่งกรมอากาศยาน (คอ.) ที่ ๔๕/๑๔๔๗ ลงวันที่ ๒๒ มิ.ย. ๗๑
๗. ปลายปี ๗๒ ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์โท กถิน อัตถโยธิน จากกรมยุทธศึกษาทหารบก มารับราชการในกรมอากาศยาน ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๐๘/๗๘๙๔ ลงวันที่ ๒๕ พ.ย. ๗๒ และในคำสั่งเดียวกันนี้ ให้ย้าย รองอำมาตย์โท เวียร พูลสวัสดิ์ จากกองบิน ๑ กลับไปกรมยุทธศึกษาทหารบก และในปลายเดือนนั้นเอง กรมอากาศยานก็ได้ออกคำสั่งย้าย รองอำมาตย์ตรี โปร่ง พีรคัม จากกรมอากาศยานให้ไปประจำอยู่กองบินใหญ่ที่ ๑ โคกกระเทียม แทนรองอำมาตย์โท เวียร พูลสวัสดิ์
๘. ต้นปี ๗๓ ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์โท จรูญ สุวรรณเนตร จากกรมยุทธศึกษาทหารบก มารับราชการในกรมอากาศยาน ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๔๑/๒๒๓๐ ลงวันที่ ๒๖ พ.ค. ๗๓ และในคำสั่งเดียวกันนี้ ให้ย้าย รองอำมาตย์ตรี โปร่ง พีรคัม จากกองบินใหญ่ที่ ๑ กลับไปกรมยุทธศึกษาทหารบก ย้ายรองอำมาตย์เอก กถิน อัตถโยธิน จากกรมอากาศยาน ไปประจำอยู่กองบินใหญ่ที่ ๑ แทนรองอำมาตย์โท โปร่ง พีรคัม
๙. รองอำมาตย์โท จรูญ สุวรรณเนตร รับราชการอยู่ในกรมอากาศยานจนถึงปี ๒๔๗๕ จึงย้ายกลับไปกรมยุทธศึกษาทหารบก แล้วมีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์โท เมฆ อำไพจริต มารับราชการในกรมอากาศยานตามรคำสั่ง ทบ.ที่ ……….ลงวันที่ ๓๐ ส.ค. ๗๕ ช่วงระยะเวลาตอนนี้ ได้มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้น คือมีการปฏิวัติโดยคณะราษฎร์ ติดตามมาโดยการปราบกบฏ สงครามอินโดจีน และสงครามมหาเอเชียบูรพา
หน้าที่ของ อศจ. กรมอากาศยาน
หน้าที่ของอนุศาสนาจารย์ เมื่อมาประจำอยู่กรมอากาศยาน มีปรากฏอยู่ในหนังสือประมวลข้อบังคับสำหรับกรมอากาศยานภาค ๒ หน้า ๑๐ ดังนี้
มาตรา ๔ หน้าที่ของอนุศาสนาจารย์ อนุศาสนาจารย์สำหรับกรมอากาศยาน มีหน้าที่โดยละเอียดดังต่อไปนี้คือ
ข้อ ๑ อบรมส่งเสริมให้บุคคลผู้ที่อยู่ในความคุ้มครองของกรมอากาศยานเป็นพลเมืองดี ทั้งให้ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติดี มีจรรยาและมารยาทอันงาม กับให้ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาตามบรรพบุรุษของตนนั้น มีความศรัทธาเชื่อมั่นยิ่งขึ้นในธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่มีหน้าที่ชักจูงให้ผู้ที่นับถือลัทธิความเชื่ออย่างอื่นกลับมาถือพระพุทธศาสนา เพราะราชการมิได้ประสงค์จะบังคับน้ำใจผู้ใดในทางลัทธิความเชื่อ
ข้อ ๒ ฟังคำปรับทุกข์ของบุคคลผู้มีความทุกข์ร้อนอย่างใดอย่างหนึ่งและมีความประสงค์จะปรับทุกข์ เมื่อได้ทราบความทุกข์ร้อนของผู้ใดแล้ว พยายามปลดเปลื้องความทุกข์ร้อนของผู้นั้นด้วยโอวาทของตนน่าจะปลดเปลื้อง ก็ให้บอกเล่าชี้แจงแก่ผู้ใหญ่ผู้มีหน้าที่บังคับบัญชานั้น ๆ ต่อไป
ข้อ ๓ ไปเยี่ยมเยือนตามเรือนแถวต่างๆ ตามโอกาส เพื่อสนทนาปราศรัยไต่ถามความสุข ทุกข์ อันเป็นทางนำให้เกิดความชอบพอสนิทสนมแล้ว และถือโอกาสนี้แนะนำในข้อที่ควรแนะ ตักเตือนในข้อที่ควรตักเตือน ตลอดถึงการชี้แจงในเรื่องสุขาภิบาลด้วย
ข้อ ๔ อบรมเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดดอนเมืองด้วยจรรยาอันดี เพื่อให้เป็นพลเมืองดีต่อไปในภายหน้า ในการนี้ควรหาโอกาสทำให้ได้ในสัปดาห์หนึ่งครั้งหรือสองครั้งเป็นอย่างน้อย
ข้อ ๕ ในเดือนหนึ่ง ควรนำกองทหารต่างๆ ไหว้พระสวดมนต์ในเวลาสักครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ ก่อนแต่จะทำการไหว้พระสวดมนต์ก็ดี ภายหลังจากทำการไหว้พระสวดมนต์แล้วก็ดี ควรถือเอาโอกาสนั้นเพียงเล็กน้อยสั่งสอน ให้บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยยิ่งขึ้น
ข้อ ๖ เมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมตามกองบินต่างๆ ที่ตั้งอยู่ต่างตำบล เมื่อกลับจากการไปเยี่ยมครั้งหนึ่งแล้ว ต้องทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาว่า ได้ทำการอย่างไรบ้าง
ข้อ ๗ นอกจากหน้าที่อันเนื่องด้วยการอบรมดังแสดงมานี้แล้ว ยังมีกิจอย่างอื่นอีกอันเกี่ยวกับเอกสารที่สำคัญๆ ซึ่งแล้วแต่ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดให้
อนุศาสนาจารย์ทหารอากาศในยุค (สธ.ทอ. ๓)
๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้มีการยกฐานะกรมอากาศยานขึ้นเป็นกองทัพอากาศในปีนั้น ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์โท ขุนเวียรวีรธรรม (เวียร พูลสวัสดิ์) จาก ยศ. ๔ คือจากแผนกอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ซึ่งเรียกชื่อย่อว่า ยศ. ๔ ให้มารับราชการในกองทัพอากาศ ขึ้นสังกัด สธ.ทอ. ๓ ตามคำสั่งทหารที่ ๙๘/๕๘๑๐ ลงวันที่ ๖ ก.ค. ๘๑ จึงถือว่าอนุศาสนาจารย์ของกองทัพอากาศคนแรกคือ รองอำมาตย์โท ขุนเวียรวีรธรรม และเป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดส่วนราชการของอนุศาสนาจารย์ครั้งแรกนั้น ตรงกับการจัดส่วนราชการอนุศาสนาจารย์ของกองทัพอากาศอเมริกัน คือ จัดให้อนุศาสนาจารย์ขึ้นกับส่วนบัญชาการ
๑๑. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีคำสั่งย้าย รองอำมาตย์โท ขุนสุทธธรรมประภาษ (ดรุณ สุทธาชีพ) จาก ยศ.๔ มาเป็นอนุศาสนาจารย์ประจำ สธ.ทอ. ๓ ตามคำสั่งทหาร ที่ ๔/๑๖๗ ลงวันที่ ๔ ม.ค. ๘๔ (ยศครั้งสุดท้ายเมื่อครบเกษียณอายุราชการ เป็น นาวาอากาศเอก)
๑๒. นับแต่ปี ๘๒ เป็นต้นมา ได้มีคำสั่งทหารให้เรียกคำนำหน้าชื่อว่า “มหา” ยกเว้นผู้ที่ได้รับยศหรือ บรรดาศักดิ์ เช่น รองอำมาตย์โท ขุน………………ไม่ต้องเรียกคำหน้าชื่อว่า มหา ดังนั้น ชื่ออนุศาสนาจารย์ ต่อไปนี้จึงมีคำนำหน้าชื่อว่า มหา และกองทัพอากาศได้ทำการสอบคัดเลือกอนุศาสนาจารย์แล้วบรรจุเอง ไม่ขอจากกรมยุทธศึกษาทหารบกอย่างแต่ก่อน เริ่มต้นจากมหาสุจรัส กวีวัฒนา (ต่อมามียศเป็นนาวาอากาศเอก) ย้ายมาจากกรมช่างอากาศมารับราชการใน สธ.ทอ. ๓ บรรจุเลื่อนชั้นเป็นอนุศาสนาจารย์ ตามคำสั่งทหารที่ ๓๓๖/๒๔๐๐ ลงวันที่ ๓๐ ก.ย. ๘๖ ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านได้ย้ายจากอนุศาสนาจารย์ไปประจำแผนกทะเบียนพลกองทัพอากาศ ตามคำสั่ง ทอ.ที่ ๖๕/๒๖๑๐ ลงวันที่ ๑๕ มี.ค. ๘๙
๑๓. มหาสม ประพันธโรจน์ ย้ายจากแผนกโยธาพาหนะ (ยพ.ทอ.) มารับราชการใน สธ.ทอ. ๓ ตามคำสั่ง ทอ.ที่ ๔๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๖ ก.พ.๘๘ และเลื่อนชั้นเป็นข้าราชการสัญญาบัตรตามคำสั่งทหารที่ ๑๗๔/๘๔๓๐ ลงวันที่ ๒๑ ก.ค. ๘๘ (ถึงแก่กรรมเมื่อ ๓๐ ส.ค. ๐๗ ขณะถึงแก่กรรมมียศเป็นนาวาอากาศโท)
๑๔. มหาสละ มีลักษณะ (ยศครั้งสุดท้ายเมื่อครบเกษียณอายุราชการ นาวาอากาศเอก) บรรจุเป็นข้าราชการใน สธ.ทอ. ๓ ตามคำสั่ง ทอ.ที่ ๔๒/๑๒๑๑ แล้วเลื่อนเป็นข้าราชการสัญญาบัตร ตามคำสั่งทหารที่ ๑๗๔/๘๔๓ ลงวันที่ ๒๑ ก.ค. ๘๘
๑๕. มหาแย้ม ประพัฒน์ทอง (ยศครั้งสุดท้ายเมื่อครบเกษียณอายุราชการ นาวาอากาศเอก) ย้ายจากอนุศาสนาจารย์กองทัพบก มารับราชการใน สธ.ทอ. ๓ ตามคำสั่งทหารที่ ๙๒/๕๙๑๑ ลงวันที่ ๒๐ เม.ย. ๘๙
๑๖. รองอำมาตย์โท เมฆ อำไพจริต (ยศครั้งสุดท้ายเมื่อครบเกษียณอายุราชการ นาวาอากาศเอก) กลับเข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ สธ.ทอ. ๓ ตามคำสั่งทหารที่ ๒๑๖/๑๕๒๑๐ ลงวันที่ ๑๑ ต.ค. ๘๙
ยุคกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
ตามอัตรา ทอ. ๙๑ กองทัพอากาศได้ย้ายอัตราอนุศาสนาจารย์ซึ่งเคยขึ้นกับ สธ.ทอ. ๓ อันเป็นส่วนบัญชาการ มาขึ้นกับกรมยุทธศึกษาทหารอากาศอันเป็นส่วนการศึกษา โดยเป็นแผนกอนุศาสนาจารย์ ต่อมาอัตรา ทอ. ๙๕ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองอนุศาสนาจารย์มาจนถึงปัจจุบันนี้
อนุศาสนาจารย์ได้รับยศทหาร
กระทรวงกลาโหม ได้ออกกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๔๙๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีบทเฉพาะกาลแต่งตั้งยศทหารให้แก่ข้าราชการกลาโหมพลเรือน ซึ่งเป็นข้าราชการมาก่อนวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๙๖ ทั้งหมด ในการนี้ อนุศาสนาจารย์กองทัพอากาศซึ่งเป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนมาแต่เดิม จึงได้รับคำสั่งให้เข้าโรงเรียนกลาโหมพลเรือนสัญญาบัตรร่วมกับข้าราชการกลาโหมพลเรือนเหล่าอื่นๆ รับการฝึกอบรมวิชาทหารและวิชาอื่นๆ ประมาณ ๒ เดือน แล้วจึงให้รับการแต่งตั้งยศทหาร ตามคำสั่งกลาโหมที่ ๔๘/๖๐๕๕ ลงวันที่ ๑๙ มี.ค. ๙๘ เรื่อง การแต่งตั้งยศข้าราชการกลาโหมพลเรือนเป็นนายทหารสัญญาบัตร มีผู้ได้รับพระราชทานแต่งตั้งยศทหารในครั้งนั้นคือ
๑. รองอำมาตย์โท ขุนสุทธรรมประภาษ เป็น ว่าที่นาวาอากาศเอก
๒. มหาแย้ม ประพัฒน์ทอง เป็น ว่าที่นาวาอากาศโท
๓. รองอำมาตย์โท เมฆ อำไพจริต เป็น ว่าที่นาวาอากาศตรี
๔. มหาสละ มีลักษณะ เป็น ว่าที่นาวาอากาศตรี
๕. มหาบุญมี จรุงคนธ์ เป็น ว่าที่เรืออากาศโท
๖. มหาภักดี พยุงผล เป็น ว่าที่เรืออากาศโท
๗. มหากิตติศักดิ์ ฉิมบันเทิง เป็น ว่าที่เรืออากาศตรี
๘. มหาสมัย สิงห์ศิริ เป็น ว่าที่เรืออากาศตรี
สถานที่ตั้งหน่วยอนุศาสนาจารย์
ปี ๘๑ ในยุคที่อนุศาสนาจารย์ทหารอากาศขึ้นอยู่กับ สธ.ทอ. ๓ นั้น สถานที่ทำงานอยู่ตึก บก.ทอ.(หลังเก่ารื้อแล้ว) เมื่อ ๘ ธ.ค. ๘๔ เกิดสงครามอินโดจีนต่อด้วยสงครามมหาเอเชียบูรพา ต่อมาในปี ๘๗ อนุศาสนาจารย์ได้รับคำสั่งให้อพยพหลบภัยสงคราม ย้ายสถานที่ไปอยู่บนป่าสะแก ตำบลหลักสี่ จนถึง ๑๗ ส.ค. ๘๘ ญี่ปุ่นยอมแพ้ สงครามยุติลง อนุศาสนาจารย์ได้รับคำสั่งให้กลับเข้าสู่ที่ตั้งกับ สธ.ทอ. ๓ อยู่ตึกอาคารเหลือง (ต่อมาเป็นโรงเรียนนายเรืออากาศ และปัจจุบันเป็นกรมสวัสดิการทหารอากาศ) อัตรา ทอ. ๙๑ กองทัพอากาศได้แก้อัตราอนุศาสนาจารย์ให้มาขึ้นกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ จึงย้ายจากอาคารตึกเหลืองมาอยู่ที่อาคาร รร.ผบ.หมวด ปี ๙๖ ย้ายไปอยู่อาคาร พธ.ยศ.ทอ. (หลังเก่าที่รื้อไปแล้ว) ปี ๙๗ ย้ายไปอยู่อาคาร วทอ. (หลังเก่ารื้อไปแล้ว อยู่คนละซีกกับฝ่ายการเงิน) ปี ๐๙ ย้ายไปอยู่อาคารกองการศึกษา และปี ๑๓ ย้ายมาอยู่อาคาร ยศ.ทอ. สร้างใหม่ในปัจจุบันนี้